.

.









































วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของขนมไทย

[แก้] ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต[1]

[แก้] การแบ่งประเภทของขนมไทย

แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ [2]

[แก้] วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย

ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

[แก้] ข้าวและแป้ง

การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำขนมไข่มด ขนมไข่จิ้งหรีด ข้าวตูได้อีก[3] ส่วนแป้งที่ใช้ทำขนมไทยส่วนใหญ่ได้มาจากข้าวคือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากการนำเม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่ แป้งถั่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ[4]

[แก้] มะพร้าวและกะทิ

มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ [4]
  • มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
  • มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย[5]
  • มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย

[แก้] น้ำตาล

แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำคาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง

[แก้] ไข่

เริมเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม [4]

[แก้] ถั่วและงา

ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบไดตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์[6] ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้[7]
  • ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
  • ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
  • ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
  • งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา

[แก้] กล้วย

กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น[8]

[แก้] สี

สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ [4]
  • สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
  • สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
  • สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น
  • สีแดงจากครั่ง
  • สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง

[แก้] กลิ่นหอม

กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ [4]
  • กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
  • กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
  • กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
  • กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม

[แก้] ขนมไทยแต่ละภาค

[แก้] ขนมไทยภาคเหนือ

ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[9]
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[10]

[แก้] ขนมไทยภาคกลาง

ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น

[แก้] ขนมไทยภาคอีสาน

เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง [11]นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง) [12]

[แก้] ขนมไทยภาคใต้

ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ [13]
  • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
  • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
  • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
  • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
  • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
  • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
  • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
  • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
  • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
  • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน

[แก้] ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล

ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้

[แก้] ขนมไทยในงานเทศกาล

  • งานตรุษสงกรานต์ ที่พระประแดง และราชบุรี ใช้กะละแมเป็นขนมประงานตรุษ[14] [15]
  • สารทไทย เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้กระยาสารทเป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพอง ขนมท่อนใต้ ขนมบ้า ขนมเจาะหูหรือขนมดีซำ ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้ม ต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม (กะละแม) [14] โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ ขนมพอง เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ ขนมดีซำเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า ใช้เป็นลูกสะบ้า ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ [16]
  • เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่า เมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอ[14] บางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรี [15]
  • ในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อ ซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ) และห่อมัด (เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกมัด) [17]
  • ในช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ[18]
  • เดือนอ้าย มีพระราชพิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าราศีธนู นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูป มาฉันขนมเบื้องในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[19]
  • เดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟ โดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ) [17]
  • เดือนสาม ทางภาคอีสานมีประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งจะทำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัด[20]
  • ชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวนขนมอาซูรอในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม[13]

[แก้] ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ

  • การสะเดาะเคราะห์และแก้บนของศิลปินวายัง-มะโย่งของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ใช้ข้าวเหนียวสามสี (ขาว เหลือง แดง) ข้าวพอง (ฆีแน) ข้าวตอก (มือเตะ) รา (กาหงะ) และขนมเจาะหู[21]
  • ในพิธีเข้าสุหนัต< ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน นำเรือใหม่ลงน้ำ ชาวไทยมุสลิมนิยมทำขนมฆานม[21]
  • ขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน ในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก บางแห่งใช่ขนมพระพายและขนมละมุดก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปียก ขนมเปี๊ยะ ถ้าเป็นตอนเช้า ยังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ[22] บางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย[23]
  • พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม จะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มี กะละแมหรือขนมดอดอย ขนมก้อหรือตูปงปูตู ขนมลาและข้าวพอง[24]
  • ขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ[15]
  • ในงานศพ ชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิ [15]
  • การบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา [25] ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกัน [26] เครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำผงอิทธิเจ ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกัน[27]
  • พิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอด [15]
  • ขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน) เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน ทองมันเป็นครับ
  • ในการเล่นผีหิ้งของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม ขนมหีบขนม (เขียน ขนฺธสโร). อารยธรรมชอง จันทบุรี ใน อารยธรรมชองจันทบุรี และอาณาจักรจันทบูร เมืองเพนียต. กทม. โรงพิมพ์ไทยรายวัน. 2541</ref>

[แก้] ขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่น

ดูบทความหลักที่ ขนมเมืองเพชร

[แก้] ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น

ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ จนทำให้คนรุ่นหลังๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ
ส่วนผสมแป้งหุ้มชั้นนอกปริมาณ
แป้งสาลี250 กรัม
่เนยขาว75 กรัม
น้ำตาลทราย65 กรัม
เกลือ1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า120 กรัม
ส่วนผสมแป้งหุ้มด้านใน 
แป้งสาลี250 กรัม
เนยขาว110 กรัม
ส่วนผสมทำไส้ 
ถั่วเขียวนึ่งบด1/2 กิโลกรัม
เนยสดผสมน้ำมันพีช120 กรัม
น้ำเปล่า60 กรัม
พริกไทยป่น6 กรัม
เกลือ1 1/2 กรัม
ไข่แดงของไข่เค็ม150 กรัม
น้ำตาลทราย300 กรัม
วิธีทำขนมเปี๊ยะ1 เตรียมทำแป้งชั้นนอกนำแป้งสาลีมาร่อน ให้ตรงกลางเป็นบ่อ
2 เทน้ำ น้ำตาล และเกลือลงไปตรงกลางแล้วคนใหเข้ากัน
3 ใส่เนยขาวคลุกเคล้าให้เข้ากัน นวดให้แป้งเรียบเนียน พักแป้งที่ได้ไว้ประมาณ 1 ช.ม. นำมาตัดแบ่งเป็นก้อน ก้อนละประมาณ 10 กรัมแล้วแต่ต้องการเล็กใหญ่ แล้วนำมาหุ้มแป้งชั้นในอีกทีหนึ่ง หมักทิ้งไว้ประมาณ 8-10 นาที
4 เตรียมส่วนผสมของไส้ขนม โดยผสมถั่วเขียวบด น้ำ น้ำตาล น้ำมัน เกลือ และพริกไทยป่นให้เข้ากัน กวนในกะทะจนร่อน แล้วยกขึ้นพักให้เย็น
5 นำไส้มาปั้นขนาดเท่ากับขนาดของแป้งที่ปันชั้นในคือประมาณ 8 กรัม
6 เตรียมทำแป้งชั้นในโดยการ นำแป้งสาลีมาร่อน และให้ตรงกลางเป็นบ่อเช่นกัน แล้วใส่เนยขาวลงไป นวดให้เนียนเข้ากันตัดแบ่งเป็นก้อนๆ ละประมาณ 8 กรัม เพื่อทำเป็นแป้งด้านชั้นใน
7 นำแป้งชั้นนอกมารีดแผ่ออกเป็นแผ่น แล้วม้วนเป็นท่อนไม้ทำแบบนี้สองครั้งแล้วตัดแบ่งออกเป็นสองชิ้น
8 แผ่แป้งออกเเป็นแผ่นกลมสำหรับห่อ พร้อมใส่ไส้และไข่เค็ม ห่อให้มิดทาหน้าด้วยไข่แดงแล้วนำไปอบที่ 400 ฟาเรนไฮต์ ประมาณ 25 นาที จนสุก

ขนมปั้นขลิบ

ปั้นขลิบ

ปั้นขลิบ
ส่วนผสมปริมาณ
แป้งข้าวเจ้า1/2 ถ้วย
่แป้งสาลี3 ถ้วย
น้ำปูนใส3 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น1/2 ช้อนชา
กะทิ1/2 ถ้วย
ไข่เป็ด1 ฟอง
ส่วนผสมของไส้ 
ถั่วลิสงละเอียด4 ขีด
หมูสับ4 ขีด
รากผักชีหั่นละเอียด1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียม1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลมะพร้าว1/2 ถ้วย
น้ำปลา1/4 ถ้วย
พริกไทย1 ช้อนชา
วิธีทำปั้นขลิบ1 นำแป้งข้าวเจ้า สาลี น้ำปูนใส ไข่เป็ด กะทิ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นวดให้เข้ากันดีจนรู้สึกนิ่ม นำผ้าขาวบางบิดน้ำหมาดคลุมไว้
2 เตรียมส่วนผสมของไส้ โดยโขลก พริกไทย รากผักชี และกระเทียมให้ละเอียดเข้ากัน
3นำเครื่องโขลกผัดให้หอม ใส่หมูผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาล ชิมรสชาติให้ได้ที่ แล้วผัดจนแห้ง แล้วใส่ถั่วลิสงผัดให้เข้ากัน
4 นำแป้งมาแบ่งคลึงปั้นเป็นก้อนๆ ขนาดประมาณ 1.5 ซ.ม. แล้วแผ่แป้งออกบางๆกลมๆ
5 ใส่ไส้พับเป็นครึ่งวงกลมปิดริมให้สนิท ขลิบริมให้สวยงาม นำไปทอดในไฟระดับปานกลางจนเหลืองสุก ตักออกซับมัน พักให้เย็นพร้อมรับประทาน

ขนมครก

ขนมครก

มีวิธีทำ”ขนมครก”มาฝาก เหมาะสำหรับผู้สนใจประกอบเป็นอาชีพค่ะ
ขนมครก
ส่วนผสมปริมาณ
แป้งข้าวเจ้า500 กรัม
น้ำตาลปี๊บ2 ช้อนโต๊ะ
หางกะทิ2500 กรัม
ส่วนผสมทำหน้าขนมครก 
แป้งขนมครกนวดได้จากส่วนผสมแรกแบ่งไว้2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย3 ขีด
เกลือ1 ช้อนโต๊ะ
หัวกะทิ1 ก.ก.
วิธีทำขนมครก1 นำแป้งข้าวเจ้าผสมหางกะทิ 200 ซีซี ให้เข้ากัน นวดไปเรื่อยๆ จนแป้งเป็นก้อนสัมผัสได้ว่านิ่ม ตักแยกออกมาสัก 2 ช้อนโต๊ะ
2 นำแป้งที่นวดได้ส่วนที่เหลือมาผสมนวดให้เข้ากันกับน้ำตาลปี๊บ ค่อยๆใส่หางกะทิลงไปผสม นวดจนกระทั่งแป้งกับน้ำตาลและหางกะทิผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
3 ทำหน้าขนมครกโดย ใช้เนื้อแป้งที่แบ่งไว้ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมละลายเข้ากันกับหัวกะทิ และใส่เกลือ น้ำตาลทราย คนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นอันได้ส่วนผสมของหน้าขนมครก
4 เตรียมตัวเข้าขั้นตอนกันหยอดขนมครกบนเตา ใช้เตาถ่านที่มีขนาดพอวางเบ้าขนมครก รอจนถ่านทุกก้อนในเตาติดไฟแดง หลังจากนั้นนำเบ้ามาวางเตา ใช้ลูกประคบเชบน้ำมันหมู เช็ดที่เบ้าจนเห็นมีควันขึ้น แล้วนำเบ้าออกจากเตา หลังจากนั้นใช้ขี้เถ้าโรยจนปิดก้อนถ่านให้หมด
5 นำเบ้าตั้งบนเตาอีกครั้ง เช็ดน้ำมันออกจากเบ้า แต่ยังให้เหลือน้ำมันเกาะอยู่บ้าง
6 สังเกตุว่าร้อนพร้อมหยอดแล้วจึง คนส่วนผสมขนมครกก่อนหยอดขนมครกส่วนแรกลงไป หยอดไปประมาณ 3 ส่วน 5 ในเบ้า
7 หยอดหน้าขนมครกตามลงไป จนเต็มเบ้าขนมครก ปิดฝารอจนกระทั้งขนมครกสุก

ขนมไข่หงษ์

ขนมไข่หงษ์

นึกถึง “ขนมไข่หงษ์” ขนมของว่าง สำหรับทานกับกาแฟหรือนมก็ดีค่ะ
ขนมไข่หงษ์
ส่วนผสมปริมาณ
เผือกนึ่งสุกบดละเอียด1/2 ถ้วย
น้ำกะทิคั้นข้นๆ1/4 ถ้วย
ถั่วเขียวซีกนึ่งบดละเอียด2 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า1/4 ถ้วย
แป้งข้าวเหนียว2 ถ้วย
เกลือ1/2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย2 ถ้วย
รากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกละเอียด1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันใช้ทอด 
น้ำเปล่าสำหรับเคลือบ 
วิธีทำขนมไข่หงษ์
1 นำแป้งข้าวเหนียว เผือกซีกนึ่งบดละเอียด แป้งข้าวเจ้า และกะทิมานวดเข้ากันกับน้ำจนแป้งเนียนนุ่มและไม่ติดมือ เสร็จแล้วพักไว้
2 ใช้น้ำมันน้อยผัดถั่วเขียวซีกนึ่งบดละเอียด น้ำตาลทราย พริกไทยกระเทียารากผักชีโขลก และเกลือรวมกัน พักให้เย็นแล้วปั้นเป็นก้อนสำหรับไส้
3 นำแป้งที่นวดแล้วมาคลึงเป็นท่อนๆ ลักษณะยาวกลม ตัดท่อนแบ่งออกให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว กดแผ่ออกให้แบนเพื่อเตรียมสำหรับห่อไส้ นำไส้ที่ปั้นไว้มาใส่แล้วห่อหุ้มทรงกลมให้มิดชิด
4 ทอดแป้งห่อไส้ในกระทะร้อน สังเกตุดูว่าสุกเหลืองจึงตักออกสะเด็ดน้ำมัน
5 เตรียมทำน้ำตาลเคลือบโดยการเทน้ำมันทอดขนมออกจากกะทะ ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย ใส่น้ำเล็กน้อย เคี่ยวโดยใช้ไฟอ่อนในกะทะจนเหนียวเป็นยาง นำขนมใส่ไปคลุกเคล้าให้น้ำตาลเคลือบทั่วก้อนขนม พักให้เย็นแห้งน้ำตาลเคลือบจับทั้งก้อนดูสวยงามพร้อมรับประทานหรือเก็บในภาชนะที่ลมเข้าไม่ได้

ขนมกาละเม

กาละแม

วันนี้ชวนเพื่อนมาทำ กาละแม ขนมหวานไทย ของฝากยอดนิยมด้วยกันค่ะ
กาละแม
ส่วนผสมปริมาณ
แป้งถั่วเขียว1 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเหนียว1 ถ้วย
หัวกะทิ1 1/4 ถ้วย
น้ำตาลทราย1 ถ้วย
กาบมะพร้าวเผา 1/2 ผล
วิธีทำกาละแม1 นำกาบมะพร้าวเผามาตำให้แหลกแล้วใส่น้ำ 1 ถ้วยผสมคนให้น้ำเป็นสีดำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อให้น้ำดำจากกาบมะพร้าว
2 นำแป้งถั่วเขียวผสมกับแป้งข้าวเหนียวด้วยกันในกะทะทองแล้วเติมน้ำสีดำที่ได้จากกาบมะพร้าวลงไปนวดแป้งให้เนียนเข้ากันแล้วเติมน้ำตาลทรายและหัวกะทิลงไปคนให้เข้ากัน
3 นำส่วนผสมทั้งหมดมาตั้งด้วยไฟอ่อน กวนแป้งให้เหนียวกวนจนล่อนออกจากกะทะแล้วจึงตักออกจากกะทะ
4 เทขนมที่กวนเสร็จแล้วลงถาด (ถาดที่ใช้ควรเป็นถาดที่ทาน้ำพึชไว้แล้ว) เกลี่ยให้เสมอกัน พักให้เย็นลงแล้วจึงตัดเป็นชิ้นๆตามต้องการ

ขนมบ้าบิ่น

ขนมบ้าบิ่น

ขนมบ้าบิ่น
ส่วนผสมปริมาณ
แป้งข้าวเจ้า1 ถ้วย
แป้งข้าวเหนียว1/4 ถ้วย
น้ำตาลทราย2 ถ้วย
น้ำลอยดอกไม้1 ถ้วย
มะพร้าวทึนทึกขูด3 ถ้วย
วิธีทำ1 ผสมน้ำตาลทรายให้เข้ากันกับน้ำลอยดอกไม้ แล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ให้เป็นน้ำเชื่อมแล้วยกลงพักให้เย็นลง
2 นำแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้าและมะพร้าวทึนทึกผสมเข้าด้วยกัน
3 ผสมส่วนผสมของแป้งจากข้อที่2และน้ำเชื่อมจากข้อที่1 ให้เข้ากัน เสร็จแล้วเทใส่ถาดเกลี่ยให้หน้าขนมเสมอกัน
4 นำถาดเข้าไปอบด้วยอุณหภูมิ 350 ฟาเรนไฮต์ จนกว่าขนมสุก สังเกตุดูว่าผิวด้านหน้าของขนมมีสีเหลือง ยกออกตัดเป็นรูปที่ต้องการ

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้อง

มาลองหัดทำ “ขนมเบื้อง” ขนมไทยโบราณสุดอร่อย เหมาะกับการทำเป็นอาชีพที่หารายได้เสริมได้ค่ะ
ขนมเบื้องไทย
ส่วนผสมแป้งห่อปริมาณ
แป้งถั่วเขียว200 กรัม
่แป้งข้าวเจ้า350 กรัม
แป้งสาลี100 กรัม
น้ำปูนใส2 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ1/2 ถ้วย
ไข่เป็ด (ใช้แต่ไข่แดง)2 ฟอง
ส่วนผสมของน้ำตาลทาขนม 
ไข่เป็ด (ใข้เฉพาะไข่ขาว)20 ฟอง
น้ำตาลปี๊บ500 กรัม
ส่วนผสมครีม 
ไข่เป็ด (ใช้เฉพาะไข่ขาว)3 ฟอง
ครีมออฟทาร์ทาร์1/2 ช้อนชา
น้ำตาลทรายขาว1/2 ถ้วย
>>ไส้หวาน ใช้ฝอยทอง งาขาว และมะพร้าวขูด
>>ไส้เค็ม ใช้กุ้งสดผัดกับน้ำมันปรุงรสด้วย เกลือ พริกไทย ต้นหอมซอย และโรยผักชี

1 ทำส่วนผสมตัวแป้งโดยการ นำแป้งถั่วเขียว แป้งสาลี และแป้งข้าวเจ้ามาผสมและร่อนรวมกัน ร่อนแล้วนำไปผสมกับน้ำปูนใส ไข่แดงและน้ำตาลปี๊บ ขยำและนวดจนกว่าส่วนผสมเข้ากันได้ดี แล้วพักไว้
2 ทำส่วนผสมน้ำตาลทาขนม โดยใช้ไข่ขาวมาผสมเข้ากันกับน้ำตาลปี๊บ คนจนกว่าน้ำตาลละลายเข้ากับไข่ แล้วพักไว้
3 ทำหน้าครีม โดยนำไข่ขาว ครีมออฟทาร์ทาร์ และน้ำตาลทรายมาผสมรวมกัน ตีให้ผสมกันจนเนียนและฟู เสร็จแล้วพักไว้เช่นกัน
3 มาถึงขั้นตอนทำขนมให้เป็นรูปเป็นร่างแล้วค่ะ นำกะทะแบนตั้งบนไฟ ใช้กระจ่าแตะที่ส่วนผสมตัวแป้งที่ได้จากข้อที่ 1 ละเลงวนในกะทะ แล้วเลือกว่าจะใช้ ส่วนผสมข้อ 2 หรือ 3 ทาบนตัวแป้ง
4 ใส่ไส้ที่เตรียมไว้ เค็มหรือหวาน แล้วพับครึ่ง แซะขนมออกมาใส่ถาด พร้อมรับประทานค่ะ

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด
ส่วนผสมปริมาณ
ข้าวเหนียว1 กิโลกรัม
มะพร้าวขูดขาว1 กิโลกรัม
ถั่วดำต้ม1/2 ถ้วย
กล้วยน้ำว้าสุก2 หวี
น้ำตาลทราย2 1/2 ถ้วย
เกลื่อ2 ช้อนชา
ใบตองห่อ 
วิธีทำ1 นำข้าวเหนียวไปคัดเอากากและข้าวสารออก แล้วเอาไปแช่น้ำค้างคืน ใส่กระชอนสะเด็ดน้ำ
2 คั้นมะพร้าวใส่น้ำทีละนิดให้ได้ 3 ถ้วย ผสมเกลือกับน้ำตาลทรายคนให้ละลายเข้ากัน กรองและใส่กะทะทองเหลือง ตั้งบนไฟอ่อนๆ ผัดข้าวเหนียวให้แห้ง
3 เตรียมกล้วยน้ำว้าสุกมาผ่าซีก
4 เตรียมใบตองสำหรับห่อ ความกว้างที่ 9 นิ้ว ส่วนใบตองชั้นในให้เล็กลงมาอีกหน่อย ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดใบตองให้สะอาด
5 จับใบตองให้ทแยงมุมตักข้าวเหนียวใส่ 3 ช้อนโต๊ะ แล้วใส่กล้วย 1 ซีก หันด้านผ่าขึ้น ตักข้าวเหนียวใส่โปะอีก 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ถั่วดำอีก 5 ถึง 6 เม็ด แล้วพับชายใบตองทั้งสองข้างเข้าหากัน กว้างประมาณ 1 1/2 นิ้ว จนปิดข้าวเหนียว ใช้นิ้วชี้หักที่ด้านบนให้เป็นมุม แล้วพับใบตองเข้าหาตัว ทำทั้งสองข้าง ห่อให้แน่น
6 เมื่อห่อได้ 2 ชิ้น ใช้ตอกมามัดที่ส่วนหัวและท้ายให้แน่น โดยใช้ตอกพันให้รอบห่อข้าวต้มมัด ใช้นิ้วรัดตรงจุดทบกัน หมุนหลายๆรอบแล้วสอดเข้าในตอก พันเข้าหาตัวตอก แล้วพันเข้าหาตัว ส่วนปลายก็ทำเช่นเดียวกันแต่พันจากตัวให้ตอกทับกัน ทำอย่างนี้จนหมดครบทุกคู่จะได้ที่ 18 คู่จากส่วนผสมที่เตรียมไว้ นำไปนึ่งบนน้ำเดือดในลังถึง เรียงด้านหงายขึ้น นึ่งประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งจนสุก

ขนมวุ้นกะทิสด

ขนมหวานไทย : วุ้นกะทิกาแฟ
ขนมหวานไทย : วุ้นกะทิใบเตย
 

      วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ทำตัววุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำเปล่า ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย (หมายเหตุ : สามารถใส่น้ำใบเตยเพื่อทำวุ้นกะทิใบเตยหรือ น้ำกาแฟเพื่อทำวุ้นกะทิกาแฟ หรืออาจใส่ สีผสมอาหารเพื่อให้ได้สีที่ต้องการสำหรับตัววุ้น)
2. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้ละลายดีจึงหรี่ไฟเบาลง
3. ตักส่วนผสมตัววุ้นลงไปในแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ โดยหยอดให้ได้ประมาณ 3/4 ของแบบ และปล่อยไว้ให้วุ้นจับตัวพอตึง
4. ระหว่างรอตัววุ้นแข็ง เตรียมทำหน้าวุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำมะพร้าว ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย
5. จากนั้นจึงใส่แป้งข้าวโพด, หัวกะทิ (ประมาณ 1/2 ถ้วยตวง) และ เกลือลงไปในส่วนผสมหน้าวุ้น คนอย่างต่อเนื่องจน ส่วนผสมละลายเข้ากัน
6. ใส่หัวกะทิที่เหลือลงไป คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงนำส่วนผสมของหน้าวุ้นไปหยอดใส่พิมพ์ให้เต็มอย่างปราณีต (พิมพ์ต้องใส่ตัววุ้นก่อน และต้องรอจน ตัววุ้นแข็งพอตึงๆก่อน มิเช่นนั้นตัววุ้นและหน้าวุ้นจะผสมกัน)
7. เมื่อหน้าวุ้นและตัววุ้นแข็งดีแล้วก็ให้เคาะออกจากแบบ จัดใส่จานและเสริฟได้ทันที

แกงบวดฟักทอง

ขนมหวานไทย : แกงบวดฟักทอง
ขนมหวานไทย : แกงบวดฟักทอง
 

      วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ทำความสะอาดและหั่นฟักทองเป็นชิ้นพอดีคำ เพื่อความสวยงามไม่ต้องปอกเปลือกออก
2. นำหางกะทิ, ใบเตย, น้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บใส่ลงไปในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลางจนเดือด
3. ใส่ฟักทองที่หั่นไว้แล้วลงไป ต้มต่อไปจนฟักทองสุกและนุ่ม (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที)
4. ใส่หัวกะทิและเกลือลงไป ต้มต่อจนเืดือดอีกครั้งจึงปิดไฟ
5 . ตักใส่ถ้วย สามารถเสริฟทันทีขณะร้อน หรือปล่อยไว้ให้เย็นแล้วค่อยเสริฟเป็นอาหารว่างในวันสบายๆ

ครองแครงกระทิสด

ขนมหวานไทย : ขนมครองแครงกะทิสด
ขนมหวานไทย : ขนมครองแครงกะทิสด
 

     วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำแป้งมันไปร่อนและผสมกับน้ำกะทิ (1/2 ถ้วยตวง) ในกระทะทองเหลือง นำไปตั้งบนไฟอ่อนๆจนแป้งละลาย คนจนแห้งและเหนียว จึงปิดไฟ
2. นำแป้งมานวดจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว และนำไปปั้นเป็นลูกกลมๆ จากนั้นจึงนำไปกดบนแบบครองแครง (ถ้าไม่มีใช้ส้อมกดแทนพอได้) เสร็จแล้วนำไปคลุกแป้งมันนิดหน่อยเพื่อไม่ให้ติด และใช้ผ้าขาวบางหมาดๆ คลุมไว้ ทำครองแครงจนแป้งหมด
3. ตั้งน้ำร้อนในหม้อจนเดือด จึงนำครองแครงที่ปั้นแล้วใส่ลงไปต้มจนสุกใส จึงนำออกมาแช่น้ำเย็นไว้สักพักแล้วนำออกมาสะเด็ดน้ำ
4. ทำน้ำกะทิโดยผสมหัวกะทิ (1 ถ้วยตวง), น้ำตาลทราย และเกลือป่นลงในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ จนละลายเข้ากันดี รอจนน้ำกะทิเดือดจึงใส่ครองแครงที่ต้มสุกแล้วลงไป ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ
5. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว และเสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆ